สวัสดี กาแล.....สวยงามหรือของชั่วร้าย
"องค์ประกอบของเรือนไทยทางภาคเหนือ อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่วทำหน้าที่เหมือนกับปั้นลมของเรือนไทยภาคกลาง ประดับไว้เพื่อแสดงออกถึงลักษณะเฉพาะของเรือนไทยล้านนา ลักษณะเป็นไม้ต่อจากไม้ปิดริมชายคาที่ประสานกันตรงสันหลังคาขึ้นไป"
"บ้านรูปทรงแบบเก่า ๆ ที่สร้างขึ้นมาในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยนั้น จะมีเสาเรือนขนาดใหญ่ที่มั่นคงแข็งแรง ตรงพื้นเรือนของบ้านที่ยกพื้นขึ้นสูงนี้มีฝาเรือนที่ลาดเอียงออกมาจากพื้นเรือนขึ้นไปสู่ใต้ของหลังคาตรงจั่ว หลังคาทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวเรือน มีปั้นลมลาดไปตามขอบจั่วหลังคา แล้วไปบรรจบกันที่ปลายจั่ว และยื่นต่อออกไป มีลักษณะดุจ "เขาสัตว์" สองคู่ ซึ่งชาวไทยวน (ไท - ยวน) ในภาคเหนือเรียกว่า ก๋าแล (คือ อีกาชำเลืองตาดู) ส่วนชาวไทยวนในจังหวัดราชบุรี เรียกว่า แก๋แล (คือนกพิราบชำเลืองดู) ลักษณะการทำหลังคาบ้านทำนองนี้ พบเห็นมากในหมู่บ้านอีก้อ และลัวะในจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอน อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าทั้งชาวอีก้อและลัวะต่างก็ไม่ทราบถึงความเป็นมาของการสร้างบ้านแบบนี้ นอกเสียจากว่า เพื่อ งดงามสวยงามเท่านั้น การทำหลังคานี้มีรูปแบบคล้าย ๆ กันนี้ พบเห็นได้เช่นกันในรัฐฉาน และรัฐว้าของพม่า ในมณฑลอัสสัมของอินเดีย ในเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และแม้แต่ในญี่ปุ่น บ้านของชาวไทยลื้อในสิบสองปันนาของประเทศจีนตอนใต้และในลาวก็มีปลายจั่ว หลังคารูปทรงเขาสัตว์แบบดั้งเดิมนี้เหมือนกัน"
แล้วภายใต้สิ่งสวยงาม มี "กาแล"เพื่ออะไร
บ้างกล่าวว่า เป็นสิ่งที่ชาวพม่าใช้ข่มอาถรรพณ์ของเจ้าชาวไทยผู้มาเข้าครองเชียงใหม่ ทิ้งไว้ให้ เทียบเคียงกับการปักไขว้หลุมฝังศพเด็กเพื่อสะกดวิญญาณ
บ้างกล่าวว่า เป็นสัญลักษณ์ของการอยู่ภายใต้ปกครองของพม่า
หรืออาจจะเป็นเพียงเเค่รูปทรงกากบาทที่่ใช้ไล่กา?
ไม่ว่าจะมีความหมายเช่นใด เเต่คนไทยก็ยังคงใช้ เเละสืบสานวัฒนธรรมการปลูกบ้านเรือนไทยแบบลานนาที่มีสัญลักษณ์กากบาทไขว้
ขอบคุณ
http://board.dserver.org/L/LannaBoard/00000442.html
http://www.tpschamnong.iirt.net/article/basa_5nt112.html
"บ้านรูปทรงแบบเก่า ๆ ที่สร้างขึ้นมาในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยนั้น จะมีเสาเรือนขนาดใหญ่ที่มั่นคงแข็งแรง ตรงพื้นเรือนของบ้านที่ยกพื้นขึ้นสูงนี้มีฝาเรือนที่ลาดเอียงออกมาจากพื้นเรือนขึ้นไปสู่ใต้ของหลังคาตรงจั่ว หลังคาทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวเรือน มีปั้นลมลาดไปตามขอบจั่วหลังคา แล้วไปบรรจบกันที่ปลายจั่ว และยื่นต่อออกไป มีลักษณะดุจ "เขาสัตว์" สองคู่ ซึ่งชาวไทยวน (ไท - ยวน) ในภาคเหนือเรียกว่า ก๋าแล (คือ อีกาชำเลืองตาดู) ส่วนชาวไทยวนในจังหวัดราชบุรี เรียกว่า แก๋แล (คือนกพิราบชำเลืองดู) ลักษณะการทำหลังคาบ้านทำนองนี้ พบเห็นมากในหมู่บ้านอีก้อ และลัวะในจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอน อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าทั้งชาวอีก้อและลัวะต่างก็ไม่ทราบถึงความเป็นมาของการสร้างบ้านแบบนี้ นอกเสียจากว่า เพื่อ งดงามสวยงามเท่านั้น การทำหลังคานี้มีรูปแบบคล้าย ๆ กันนี้ พบเห็นได้เช่นกันในรัฐฉาน และรัฐว้าของพม่า ในมณฑลอัสสัมของอินเดีย ในเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และแม้แต่ในญี่ปุ่น บ้านของชาวไทยลื้อในสิบสองปันนาของประเทศจีนตอนใต้และในลาวก็มีปลายจั่ว หลังคารูปทรงเขาสัตว์แบบดั้งเดิมนี้เหมือนกัน"
แล้วภายใต้สิ่งสวยงาม มี "กาแล"เพื่ออะไร
บ้างกล่าวว่า เป็นสิ่งที่ชาวพม่าใช้ข่มอาถรรพณ์ของเจ้าชาวไทยผู้มาเข้าครองเชียงใหม่ ทิ้งไว้ให้ เทียบเคียงกับการปักไขว้หลุมฝังศพเด็กเพื่อสะกดวิญญาณ
บ้างกล่าวว่า เป็นสัญลักษณ์ของการอยู่ภายใต้ปกครองของพม่า
หรืออาจจะเป็นเพียงเเค่รูปทรงกากบาทที่่ใช้ไล่กา?
ไม่ว่าจะมีความหมายเช่นใด เเต่คนไทยก็ยังคงใช้ เเละสืบสานวัฒนธรรมการปลูกบ้านเรือนไทยแบบลานนาที่มีสัญลักษณ์กากบาทไขว้
"กาแล"
ขอบคุณ
http://board.dserver.org/L/LannaBoard/00000442.html
http://www.tpschamnong.iirt.net/article/basa_5nt112.html
1 ความคิดเห็น:
กาแล...........
แกลา
แสดงความคิดเห็น
สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]
<< หน้าแรก